ช่วงบรรยาย (ช่วงที่1) ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิตสาขานาฏกรรม และ นายกสภาสถาบันกันตนา บรรยายในหัวข้อ “การบริหารวัฒนธรรม” ในสภาวะช่วงนี้ คงหนีไม่พ้น สถานการณ์ Covid-19 ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวัง และมีมาตรการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จากคำสั่งและคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขและมติ ครม. สิ่งสำคัญ คือการรับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงบรรยาย ช่วงที่ 1 ท่านวิทยากร ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ระบาดในหลาย ๆ ประเทศ และสำหรับประเทศไทย ทุกคนต้องเฝ้าระวัง และมีมาตรการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จากคำสั่งและคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขและมติ ครม. สิ่งสำคัญ คือการรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับข้อหัวการบรรยายของท่านเกี่ยวกับ “การบริหารวัฒนธรรม” เราควรบริหารอย่างไร เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเศรษฐกิจ และกลายเป็น อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่า วิถีการดำรงชีวิตแต่ละภาคของประเทศสามารถนำภูมิปัญญาต่างๆ ของท้องถิ่นมาดัดแปลงให้เกิด แฟชั่นทางการแต่งกาย และเครื่องนุ่งห่ม ออกสู่ตลาดโลก หรือนำศิลปะท้องถิ่นมาประยุกต์ ให้กลายเป็นของตกแต่งภายในบ้านที่สามารถส่งออกให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงความงดงาม วัฒนธรรมบางอย่างก็ควรอนุรักษ์สืบสายประเพณีต่อไป เช่น การแห่เทียนเข้าพรรษาในภาคอิสาน หรือ บั้งไฟพญานาคที่เป็นวัฒนธรรมทางศาสนาที่เป็นปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ ทำให้สามารถสร้างเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวได้อย่างมากมาย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่งดงามอันหลากหลายซึ่งต้องควรอนุรักษ์สืบสานต่อไป และในวัฒนธรรมอันดีงามนั้น หากเรานำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันก็สามารถที่จะสร้าง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมได้ การบรรยายของท่านวิทยาการทำให้ผู้อบรมได้มองภาพได้ชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ที่เห็นจะเข้มข้น คือการนำเสนอเรื่อง Covid-19 ของแต่ละพื้นที่ ที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมทางสังคม รวมถึงยังแนะนำการปฏิบัติตน ในช่วงวิกฤติของโรค Covid-19 อีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่เราควรจะได้นำไปปรับใช้กับสังคมของตนเองอย่างแน่นอน ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 2) ได้รับเกียรติจาก คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ บรรยายในหัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินของโลก และผลกระทบต่อการทำธุรกิจ” ถอดบทความและสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและส่งผลไปถึงธุรกิจเป็นอย่างมาก เราจึงควรอัพเดทเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากที่ส่งผลการสร้างตลาดและมูลค่าทางผลิตภัณฑ์ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งทุกคน ต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางอย่างก็ทำให้สินค้าบางอย่างในตลาดหายไปได้ เพราะเทคโนโลยีมามีส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเจนคือ เทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงทางการเงิน เช่น การสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Bitcoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาทางภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจะมารูปแบบไหน ล้วนแล้วแต่มีข้อดีและข้อเสีย แต่ที่สำคัญ เราจะต้องตามและก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะส่งผลทางธุรกิจตนเองและประเทศ เมื่อวิทยากรบรรยายเสร็จทั้ง 2 ช่วง ตัวแทนของทั้งสองกลุ่ม ได้มอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณ และถ่ายรูปร่วมกัน หลักสูตร นมธ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้อบรม เนื่องจากเหตุการณ์ระบาดของเชื้อ Covid-19
ในสัปดาห์นี้ จึงงดถ่ายภาพหมู่ และการจัดโต๊ะในการฟังบรรยาย จัดโต๊ะ 1:1 โต๊ะรับประทานอาหาร จัดห่างระยะ 1 เมตร ก่อนเข้าห้องบรรยาย ทางหลักสูตรได้จัดเจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ทำบันทึก แบบสอบถามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพื่อคัดกรองผู้อบรม ผลสรุปที่ได้ ผู้อบรม ไม่มีใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงค่ะ และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 มีมติ ครม.เรื่องการควบคุมโรคระบาด Covid-19 มีคำสั่ง งดการชุมนุมจำนวนเกิน 50 คน เพื่อเป็นการแสดงความร่วมมือ ทางหลักสูตรจึงประกาศ งดการบรรยาย ในวันที่ 23 และ 30 มีนาคม 2563
0 Comments
เปิดบรรยากาศการอบรมด้วย การลงคะแนนเสียง เลือกตั้งประธาน นมธ.รุ่น16 ลงทะเบียนเรียบร้อย เดินเข้าคูหา เลือกเบอร์ที่ใช่ เลือกคนที่ชอบ มี 2 คูหา คูหาที่ 1 ให้เลือกประธาน ซึ่งมีรายชื่อเสนอเข้ามาถึง 4 ท่าน 4 เบอร์ แต่ให้เลือกได้เพียง 1 ท่าน 1 เบอร์เท่านั้น คูหาที่ 2 ให้เลือกคณะกรรมการ ซึ่งเลือกได้สูงสุด 8 ท่าน 8 เบอร์ ในระหว่างเข้าคูหาเพื่อทำการใช้สิทธิ์ มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำให้กับผู้อบรม เพื่อกันบัตรเสียด้วย จริงจังกันมากๆค่ะ ช่วงเย็นวันนี้ ได้ทราบผลแน่นอนว่า ใครจะได้เป็นประธานและคณะกรรมการ ของนมธ.รุ่นที่ 16 ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 1) ได้รับเกียรติจาก คุณธีรวัฒน์ ธัญลักษณ์ภาคย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษท เสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บรรยายในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ในการทำCSR” ความหมายของ CSR • CSR ( Corporate Social Responsibility) • หมายถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ องค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยมุ่งเน้นการมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และอยู่ภายใต้หลักการจัดการที่ดี ท่านวิทยากรกล่าวว่า "ตามแนวคิดของผม เป็นเพียงเอาเวลาไปสร้างเงิน นั่นก็คือ การปันเวลาส่วนที่เหลือไปทำงานที่ได้เงินมาบริจาคโดย ไม่ใช้เงินส่วนตัวและไม่กระทบกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ วิสัยทัศน์ของผม “ปันเวลาส่วนที่เหลือเพื่อสังคม” ต่อไป" หลายท่านได้ฟังแล้ว เชื่อว่าจะเกิดพลังบวก ร่วมกันจัดโครงการดีๆ เพื่อสังคม กันต่อไปอย่างแน่นอน เริ่มจากพลังเล็กๆ แต่ผู้ได้รับนั้น คุณคือพลังอันยิ่งใหญ่และเป็นกำลังใจสำคัญ ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 2) ได้รับเกียรติจาก ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บรรยายในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ธุรกิจไทย” หัวข้อในการบรรยาย •โลกของยุคดิจิตอล • การสร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม • การบริหารในยุคดิจิตอล •เทคนิคการบริหารแบบบูรณาการ องค์ประกอบของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล •โครงสร้างพื้นฐานของด้านดิจิตอลเทคโนโลยี HARDWARE,SOFTWARE, TELECOMS, INTERNET = DIGITAL NETWORKING + COMMUNICATION INFRASTRUCTURES •E-BUSINESS - ธุรกรรมผ่านคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์ค •E-COMMERCE – ธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ แนวคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงสู่การบริหารยุคใหม่ • สร้างความมั่นคงก่อนการเปลี่ยนแปลง • การเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องเน้นตัวบุคคล • หล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กรด้วยความกลมกลืน • การกระจายอำนาจความสำเร็จได้จากภาวะผู้นําที่เข้มแข็ง การบรรยาย จบลงทั้ง 2 ช่วง ตัวแทนจากผู้อบรมขึ้นมอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่านค่ะ เมื่อจบการบรรยาย ก็มาถึงช่วงการประกาศผู้ที่มีคะแนนเสียงสูงสุด ได้รับเลือกให้เป็นประธาน นมธ.รุ่นที่ 16 และคณะกรรมการทั้ง 8 ท่าน จากการลงคะแนนเลือกตั้ง จากผู้ใช้สิทธิ์ทั้งหมดคือ ผู้อบรมทั้งหมดในหลักสูตร นมธ.รุ่นที่ 16 ค่ะ ผลคะแนน ออกมา เท่ากัน 2 ท่าน ได้แก่ ดร.ปรียนันท์ มงคลสุริยะเดช จากสีแดง และ คุณนพดล ลิปิเวชกุลกิจ จากสีเขียว ดังนั้น ประธาน นมธ.รุ่นที่ 16 จึงมี 2 ท่าน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ และคณะกรรมการทั้ง 8 ท่าน ที่ได้รับเลือก จะทำหน้าที่บริหาร จัดการ เป็นตัวแทนของรุ่น เพื่อจัดทำกิจกรรมต่างๆ และบริหารรุ่นต่อไปจนครบวาระ ทาน รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์เพื่อสังคม และ ดร.มนตรี ฐิรโฆไท ผู้อำนวยการและกรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์เพื่อสังคม ให้เกียรติถ่ายรูปกับ ประธานและคณะกรรมการ นมธ.รุ่นที่ 16 เข้าสู่ช่วงกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ วันนี้ กลุ่มสีแดง เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรม ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ของรางวัล และกิจกรรม เตรียมมาเพื่อทุกท่านอย่างมากมาย ทั้งบรรยากาศการเลือกตั้งที่จริงจัง การอบรมทั้ง 2 ช่วงที่เข้มข้น มาถึงช่วงเวลาที่ผ่อนคลายกันบ้าง ให้ภาพบรรยายความสนุกสนาน ดูแล้วยิ้มตาม.... อิ่มพุง อิ่มอก อิ่มใจค่ะ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ กำลังใจ จะก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่
"ครอบครัว นมธ. จะทำประโยชน์เพื่อสังคมต่อไป" ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 1) ได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล Member of International Advisory Council of the Schulich School of Business York University, Toronto, Canada บรรยายในหัวข้อ “Asia & Thailand Economic Outlook 2020 & Beyond in VUCA World : TLP’s Dissect, Shocks & Implications” ในปัจจุบันที่โลกกำลังอยู่ในยุค VUCA World โดยภาวะจำเป็นที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงไวและคาดเดาได้ยากแบบนี้ ส่งผลเสียต่อสังคมในยุคปัจจุบันอยู่ไม่น้อยเพราะธรรมชาติของคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความไม่มั่นคง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กรให้รับมือ VUCA World ได้ด้วยหลักของ VUCA เช่นกัน “เครื่องมือและกระบวนการนวัตกรรม รวมทั้งการโค้ชเชิงนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือและอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาบุคคลากรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อองค์กรโดยรวม เพื่อให้การดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้รับมือกับ VUCA World ได้ V- Volatility คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และรวดเร็ว ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน แบบตั้งตัวไม่ทัน หรือรวดเร็วมาก เช่น ซึ่งในปัจจุบันคือ Disruptive innovation นวัตกรรมที่พลิกผัน อัตราการเปลี่ยนแปลงสูง (High rate of change) U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ เพราะโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนสูง (Unclear about the present) C-Complexity คือ ความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆเชิงระบบ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors) A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน (Lack of clarity about meaning of an event) ดังนั้น เพื่อการเตรียมพร้อม รับมือ ความเปลี่ยนแปลง ผู้นำองค์กรจึงต้องมีความรู้เพื่อเตรียมตั้งรับและปรับตัวให้เข้ากับยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ผู้อบรมต่างให้ความสนใจจากหัวข้อการบรรยายในครั้งนี้เป็นอย่างมากค่ะ ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 2) ได้รับเกียรติจาก ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม บรรยายในหัวข้อ การปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการบริการให้มีความทันสมัย ( Modernization) เพิ่มประสิทธิภาพ ( Optimization) และลดต้นทุน ( Cost reduction) ให้กับระบบการผลิต และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีขั้นตอนการดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการผลิตแบบเดิม จากการผลิตสินค้าและบริการจากการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เป็นการผลิตได้หลากหลายในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว (Mass Customization) โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัด และมีประสิทธิภาพด้วย เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการนำเอาไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาน้อยลงและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อให้เราแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคปัจจุบันที่การใช้สมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง (Wireless Broadband) เช่น 3G, 4G ซึ่งใช้งานได้ง่ายกว่า PC มาก ทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง แม้กระทั่งในคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตมาก่อน ซึ่งทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ มากมายในแทบทุกสาขาเศรษฐกิจ หัวใจสำคัญของการก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 คือ 1) เตรียมกลยุทธ์องค์กร : สร้าง value creation ให้ลูกค้าและ smart operation เข้าใจเส้นทางธุรกิจ (value chain) เข้าถึงความต้องการ และสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยใน value chains และกำหนดวิสัยทัศน์มุ่งสู่การสร้าง digital business model และกระบวนการภายในที่เป็นดิจิตอล 2) เตรียมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร : สร้างองค์กรนวัตกรรมและความยืดหยุ่น • Centers of Excellence ทีมที่รวมตัวจากหลายหน่วยงาน (inter-disciplinary team) แบบเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาหรือทำงานพัฒนาปรับปรุง • Center of Innovation ทีมที่เป็นอิสระจากองค์กรปกติ ที่คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ รูปแบบธุรกิจ ฯลฯ 3) เตรียมความพร้อมเทคโนโลยี : “เลือกเทคโนโลยีที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม” เทคโนโลยีสารสนเทศที่ตอบสนองความยืดหยุ่นของธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดเก็บ รวบรวม และจัดการข้อมูล และเชื่อมโยงกับหน่วยต่างๆ ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ, ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, เครื่องจักรและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 4) เตรียมคน : “สร้าง Smart Employee” • พัฒนากลยุทธ์ในการดึงดูดให้องค์กรมีบุคลากรที่ความรู้ และทักษะใหม่ๆ • ปรับปรุง job profiles ให้ทันสมัยและมี digitalskills เป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐาน • พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับบุคลากร • สร้างบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ที่สนับสนุนกลยุทธ์องค์กร เช่น data scientists, user interface designers,digital innovation managers 5) เตรียมปรับกระบวนการ สร้างกระบวนการที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 • ปรับกระบวนการเข้าสู่ดิจิตอล • ความสามารถในการเชื่อมต่อ • ปรับกระบวนการให้น่าเชื่อถือ – มาตรฐาน (standardization) – การผลิตแบบลีน (lean manufacturing) • ปรับกระบวนการให้มีความยืดหยุ่น (flexible) และปรับเปลี่ยนได้ง่าย (adaptable) เนื้อหาการบรรยายที่เข้มข้น ผู้อบรมจึงตั้งใจฟังหัวข้อการบรรยายในช่วงที่ 2 เป็นอย่างมากค่ะ การบรรยายทั้ง 2 ช่วง ทำให้ผู้อบรมได้ความรู้ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับทั้งองค์กรของตนเอง และยังสามารถนำไปปรับใช้พัฒนา บุคลากรในองค์กรของตนเองอีกด้วย รวมถึงยังได้ความรู้ใหม่ๆ กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในประเทศ และการตั้งรับ กับอนาคตไทยในยุค 4.0 ค่ะ เมื่อจบการบรรยายทั้ง 2 ช่วง ตัวแทนผู้อบรม ขึ้นมอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ค่ะ เมื่อจบการบรรยาย และตัวแทนผู้อบรมมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรเพื่อเป็นการขอบคุณแล้ว ทั้งนี้ ดร.นริศ ชัยสูตร ได้ให้เกียรติขึ้นถ่ายรูป ร่วมกับวิทยากรทั้ง 2 ท่าน อีกด้วย เข้าสู่ช่วง กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ วันนี้ หลังจากที่ผู้อบรม นมธ.รุ่น 16 ได้ผ่านกิจกรรม รับเพื่อนใหม่ ที่พัทยา กันมาเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ผ่านมานั้น ทำให้ ผู้อบรม นมธ.รุ่น 16 มีความรัก สามัคคี สนิทสนมกันมากขึ้นจนเห็นได้จากรอยยิ้มของทุกท่านที่มีให้กันค่ะ ทุกความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันด้วยวัย ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เมื่อเข้ามาเป็น ครอบครัวเดียวกัน ครอบครัว นมธ. ค่ะ พบกับ บรรยากาศการอบรมในสัปดาห์ต่อไป สัปดาห์หน้า จะได้ทราบแล้วค่ะว่า ใครจะได้รับเลือกให้เป็นประธานรุ่น นมธ. รุ่น16 ทางหลักสูตร ได้เตรียมการเลือกตั้ง อย่างยุติธรรม โดยการใช้เครื่องเลือกตั้งจริง จากสำนักงานคณะกรรมการการเลืกตั้งเลยล่ะค่ะ แล้วพบกันวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 นะค้ะ
|
ทีมงานนมธ.ทีมคณะทำงานมูลนิธินมธ. บรรยากาศอบรม
September 2024
ประเภท
All
|