ช่วงบรรยาย (ช่วงที่1) ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิตสาขานาฏกรรม และ นายกสภาสถาบันกันตนา บรรยายในหัวข้อ “การบริหารวัฒนธรรม” ในสภาวะช่วงนี้ คงหนีไม่พ้น สถานการณ์ Covid-19 ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวัง และมีมาตรการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จากคำสั่งและคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขและมติ ครม. สิ่งสำคัญ คือการรับผิดชอบต่อสังคม ในช่วงบรรยาย ช่วงที่ 1 ท่านวิทยากร ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ระบาดในหลาย ๆ ประเทศ และสำหรับประเทศไทย ทุกคนต้องเฝ้าระวัง และมีมาตรการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จากคำสั่งและคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขและมติ ครม. สิ่งสำคัญ คือการรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับข้อหัวการบรรยายของท่านเกี่ยวกับ “การบริหารวัฒนธรรม” เราควรบริหารอย่างไร เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเศรษฐกิจ และกลายเป็น อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่า วิถีการดำรงชีวิตแต่ละภาคของประเทศสามารถนำภูมิปัญญาต่างๆ ของท้องถิ่นมาดัดแปลงให้เกิด แฟชั่นทางการแต่งกาย และเครื่องนุ่งห่ม ออกสู่ตลาดโลก หรือนำศิลปะท้องถิ่นมาประยุกต์ ให้กลายเป็นของตกแต่งภายในบ้านที่สามารถส่งออกให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงความงดงาม วัฒนธรรมบางอย่างก็ควรอนุรักษ์สืบสายประเพณีต่อไป เช่น การแห่เทียนเข้าพรรษาในภาคอิสาน หรือ บั้งไฟพญานาคที่เป็นวัฒนธรรมทางศาสนาที่เป็นปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ ทำให้สามารถสร้างเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวได้อย่างมากมาย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่งดงามอันหลากหลายซึ่งต้องควรอนุรักษ์สืบสานต่อไป และในวัฒนธรรมอันดีงามนั้น หากเรานำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันก็สามารถที่จะสร้าง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมได้ การบรรยายของท่านวิทยาการทำให้ผู้อบรมได้มองภาพได้ชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ที่เห็นจะเข้มข้น คือการนำเสนอเรื่อง Covid-19 ของแต่ละพื้นที่ ที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมทางสังคม รวมถึงยังแนะนำการปฏิบัติตน ในช่วงวิกฤติของโรค Covid-19 อีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่เราควรจะได้นำไปปรับใช้กับสังคมของตนเองอย่างแน่นอน ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 2) ได้รับเกียรติจาก คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ บรรยายในหัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงด้านการเงินของโลก และผลกระทบต่อการทำธุรกิจ” ถอดบทความและสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและส่งผลไปถึงธุรกิจเป็นอย่างมาก เราจึงควรอัพเดทเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากที่ส่งผลการสร้างตลาดและมูลค่าทางผลิตภัณฑ์ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งทุกคน ต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางอย่างก็ทำให้สินค้าบางอย่างในตลาดหายไปได้ เพราะเทคโนโลยีมามีส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเจนคือ เทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงทางการเงิน เช่น การสร้างสกุลเงินดิจิทัล (Bitcoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาทางภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้น เทคโนโลยีจะมารูปแบบไหน ล้วนแล้วแต่มีข้อดีและข้อเสีย แต่ที่สำคัญ เราจะต้องตามและก้าวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอันจะส่งผลทางธุรกิจตนเองและประเทศ เมื่อวิทยากรบรรยายเสร็จทั้ง 2 ช่วง ตัวแทนของทั้งสองกลุ่ม ได้มอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณ และถ่ายรูปร่วมกัน หลักสูตร นมธ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของผู้อบรม เนื่องจากเหตุการณ์ระบาดของเชื้อ Covid-19
ในสัปดาห์นี้ จึงงดถ่ายภาพหมู่ และการจัดโต๊ะในการฟังบรรยาย จัดโต๊ะ 1:1 โต๊ะรับประทานอาหาร จัดห่างระยะ 1 เมตร ก่อนเข้าห้องบรรยาย ทางหลักสูตรได้จัดเจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ทำบันทึก แบบสอบถามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพื่อคัดกรองผู้อบรม ผลสรุปที่ได้ ผู้อบรม ไม่มีใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงค่ะ และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 มีมติ ครม.เรื่องการควบคุมโรคระบาด Covid-19 มีคำสั่ง งดการชุมนุมจำนวนเกิน 50 คน เพื่อเป็นการแสดงความร่วมมือ ทางหลักสูตรจึงประกาศ งดการบรรยาย ในวันที่ 23 และ 30 มีนาคม 2563
0 Comments
Leave a Reply. |
ทีมงานนมธ.ทีมคณะทำงานมูลนิธินมธ. บรรยากาศอบรม
September 2024
ประเภท
All
|