ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 1) ได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล Member of International Advisory Council of the Schulich School of Business York University, Toronto, Canada บรรยายในหัวข้อ “Asia & Thailand Economic Outlook 2020 & Beyond in VUCA World : TLP’s Dissect, Shocks & Implications” ในปัจจุบันที่โลกกำลังอยู่ในยุค VUCA World โดยภาวะจำเป็นที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงไวและคาดเดาได้ยากแบบนี้ ส่งผลเสียต่อสังคมในยุคปัจจุบันอยู่ไม่น้อยเพราะธรรมชาติของคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ความไม่มั่นคง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กรให้รับมือ VUCA World ได้ด้วยหลักของ VUCA เช่นกัน “เครื่องมือและกระบวนการนวัตกรรม รวมทั้งการโค้ชเชิงนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือและอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาบุคคลากรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อองค์กรโดยรวม เพื่อให้การดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้รับมือกับ VUCA World ได้ V- Volatility คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และรวดเร็ว ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน แบบตั้งตัวไม่ทัน หรือรวดเร็วมาก เช่น ซึ่งในปัจจุบันคือ Disruptive innovation นวัตกรรมที่พลิกผัน อัตราการเปลี่ยนแปลงสูง (High rate of change) U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ เพราะโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนสูง (Unclear about the present) C-Complexity คือ ความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆเชิงระบบ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors) A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน (Lack of clarity about meaning of an event) ดังนั้น เพื่อการเตรียมพร้อม รับมือ ความเปลี่ยนแปลง ผู้นำองค์กรจึงต้องมีความรู้เพื่อเตรียมตั้งรับและปรับตัวให้เข้ากับยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน ผู้อบรมต่างให้ความสนใจจากหัวข้อการบรรยายในครั้งนี้เป็นอย่างมากค่ะ ช่วงบรรยาย (ช่วงที่ 2) ได้รับเกียรติจาก ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม บรรยายในหัวข้อ การปรับเปลี่ยนองค์กร เพื่อเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการบริการให้มีความทันสมัย ( Modernization) เพิ่มประสิทธิภาพ ( Optimization) และลดต้นทุน ( Cost reduction) ให้กับระบบการผลิต และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีขั้นตอนการดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการผลิตแบบเดิม จากการผลิตสินค้าและบริการจากการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เป็นการผลิตได้หลากหลายในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว (Mass Customization) โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัด และมีประสิทธิภาพด้วย เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการนำเอาไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาน้อยลงและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อให้เราแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคปัจจุบันที่การใช้สมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูง (Wireless Broadband) เช่น 3G, 4G ซึ่งใช้งานได้ง่ายกว่า PC มาก ทำให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง แม้กระทั่งในคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตมาก่อน ซึ่งทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ มากมายในแทบทุกสาขาเศรษฐกิจ หัวใจสำคัญของการก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 คือ 1) เตรียมกลยุทธ์องค์กร : สร้าง value creation ให้ลูกค้าและ smart operation เข้าใจเส้นทางธุรกิจ (value chain) เข้าถึงความต้องการ และสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยใน value chains และกำหนดวิสัยทัศน์มุ่งสู่การสร้าง digital business model และกระบวนการภายในที่เป็นดิจิตอล 2) เตรียมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร : สร้างองค์กรนวัตกรรมและความยืดหยุ่น • Centers of Excellence ทีมที่รวมตัวจากหลายหน่วยงาน (inter-disciplinary team) แบบเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาหรือทำงานพัฒนาปรับปรุง • Center of Innovation ทีมที่เป็นอิสระจากองค์กรปกติ ที่คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ รูปแบบธุรกิจ ฯลฯ 3) เตรียมความพร้อมเทคโนโลยี : “เลือกเทคโนโลยีที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม” เทคโนโลยีสารสนเทศที่ตอบสนองความยืดหยุ่นของธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดเก็บ รวบรวม และจัดการข้อมูล และเชื่อมโยงกับหน่วยต่างๆ ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ, ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, เครื่องจักรและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 4) เตรียมคน : “สร้าง Smart Employee” • พัฒนากลยุทธ์ในการดึงดูดให้องค์กรมีบุคลากรที่ความรู้ และทักษะใหม่ๆ • ปรับปรุง job profiles ให้ทันสมัยและมี digitalskills เป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐาน • พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับบุคลากร • สร้างบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ที่สนับสนุนกลยุทธ์องค์กร เช่น data scientists, user interface designers,digital innovation managers 5) เตรียมปรับกระบวนการ สร้างกระบวนการที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 • ปรับกระบวนการเข้าสู่ดิจิตอล • ความสามารถในการเชื่อมต่อ • ปรับกระบวนการให้น่าเชื่อถือ – มาตรฐาน (standardization) – การผลิตแบบลีน (lean manufacturing) • ปรับกระบวนการให้มีความยืดหยุ่น (flexible) และปรับเปลี่ยนได้ง่าย (adaptable) เนื้อหาการบรรยายที่เข้มข้น ผู้อบรมจึงตั้งใจฟังหัวข้อการบรรยายในช่วงที่ 2 เป็นอย่างมากค่ะ การบรรยายทั้ง 2 ช่วง ทำให้ผู้อบรมได้ความรู้ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับทั้งองค์กรของตนเอง และยังสามารถนำไปปรับใช้พัฒนา บุคลากรในองค์กรของตนเองอีกด้วย รวมถึงยังได้ความรู้ใหม่ๆ กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในประเทศ และการตั้งรับ กับอนาคตไทยในยุค 4.0 ค่ะ เมื่อจบการบรรยายทั้ง 2 ช่วง ตัวแทนผู้อบรม ขึ้นมอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ค่ะ เมื่อจบการบรรยาย และตัวแทนผู้อบรมมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรเพื่อเป็นการขอบคุณแล้ว ทั้งนี้ ดร.นริศ ชัยสูตร ได้ให้เกียรติขึ้นถ่ายรูป ร่วมกับวิทยากรทั้ง 2 ท่าน อีกด้วย เข้าสู่ช่วง กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ วันนี้ หลังจากที่ผู้อบรม นมธ.รุ่น 16 ได้ผ่านกิจกรรม รับเพื่อนใหม่ ที่พัทยา กันมาเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ผ่านมานั้น ทำให้ ผู้อบรม นมธ.รุ่น 16 มีความรัก สามัคคี สนิทสนมกันมากขึ้นจนเห็นได้จากรอยยิ้มของทุกท่านที่มีให้กันค่ะ ทุกความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันด้วยวัย ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เมื่อเข้ามาเป็น ครอบครัวเดียวกัน ครอบครัว นมธ. ค่ะ พบกับ บรรยากาศการอบรมในสัปดาห์ต่อไป สัปดาห์หน้า จะได้ทราบแล้วค่ะว่า ใครจะได้รับเลือกให้เป็นประธานรุ่น นมธ. รุ่น16 ทางหลักสูตร ได้เตรียมการเลือกตั้ง อย่างยุติธรรม โดยการใช้เครื่องเลือกตั้งจริง จากสำนักงานคณะกรรมการการเลืกตั้งเลยล่ะค่ะ แล้วพบกันวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2563 นะค้ะ
1 Comment
|
ทีมงานนมธ.ทีมคณะทำงานมูลนิธินมธ. บรรยากาศอบรม
September 2024
ประเภท
All
|