เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 - 15.30 น. ช่วงการบรรยายที่ 1 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจาก ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และศิษย์เก่าหลักสูตร นมธ. รุ่นที่ 12 ท่านให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก" ทำให้ผู้อบรม รับทราบการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก อันจะนำมาต้องปรับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย การนำมาซึ่งปรับตัวจากองค์กรไปสู่ประเทศไทย เพื่อให้เขากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 16.00 – 18.00 น. ช่วงการบรรยายที่ 2 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง “ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม” (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา
ท่านบรรยายในหัวข้อ “การยุติความขัดแย้งในสังคม” ทำให้ทุกท่านทราบถึง เหตุของความขัดแย้งมาจากอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร แนวทางการแก้ไขควรเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญสุดท้าย คนไทยต้องจับมือร่วมใจกันปรองดอง ซึ่งท่านได้ยกพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า "แม้แต่พระพุทธเจ้ายังสามารถพูดคุยเจรจากับองค์คุลีมาลได้ ดังนั้น เราไม่ควรแยกแยะคนออกจากกัน ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ชอบเขาก็ตาม แต่เราก็สามารถพูดคุยกับเขาได้"
0 Comments
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 การบรรยายช่วงที่ 1 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ นายกราชบัณฑิตยสภา บรรยายในหัวข้อ"การบริหารวัฒนธรรม" การบริหารวัฒนธรรม เราควรบริหารอย่างไร เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับเศรษฐกิจ และกลายเป็น อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่งดงามอันหลากหลายซึ่งต้องควรอนุรักษ์สืบสานต่อไป และในวัฒนธรรมอันดีงามนั่น หากเรานำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันก็สามารถที่จะสร้าง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางวัฒนธรรมได้ เมื่อวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 16.00 – 18.00 น. ช่วงการบรรยายที่ 2 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่านได้บรรยายในหัวข้อ "อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีความสำคัญกับธรรมศาสตร์อย่างไร" อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เรียกว่าเป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมาย สำหรับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เป็นบุคคลสำคัญเช่นกันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชาวธรรมศาสตร์จะเรียกท่านว่า “อาจารย์หม่อม” เป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อโขนธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ก่อตั้ง และผู้อุปถัมภ์ โดยชาวธรรมศาสตร์กล่าวว่า “ถ้าไม่มีอาจารย์คึกฤทธิ์ ก็คงไม่มีโขนธรรมศาสตร์เกิดขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. ช่วงการบรรยายที่ 1 ได้รับเกียรติจาก ดร.บัณฑิต นิจถาวร ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมภิบาล ท่านบรรยายในหัวข้อ “นโยบายสาธารณะในประเทศไทย” โดยเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ และหลักธรรมาธิบาลของภาครัฐ การสะท้อนปัญหาในของประเทศไทย รวมไปถึงการจะทำให้นโยบายสาธารณะที่ดีเกิดขึ้นได้นั้น จะแก้ไขอย่างไร เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.00 - 18.00 น. ช่วงการบรรยายที่ 2 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจาก ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, นายกสมาคม สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ และศิษย์เก่า นมธ. รุ่นที่ 1
ท่านบรรยายในหัวข้อ "แนวโน้มอุตสาหกรรมและความยั่งยืน" ซึ่งหัวข้อดังกล่าว ทำให้ทราบถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งเป้าหมายที่ไป Thailand 4.0 การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรม และรวมถึงทำอย่างไรให้ภาคอุตสาหกรรมนั้นยั่งยืน เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 - 15.00 น. สถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์ ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิสถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 21 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์เพื่อสังคม กล่าวเปิดอบรมอย่างเป็นทางการ และปฐมนิเทศหลักสูตร พร้อมทั้งให้ผู้เข้าอบรมกล่าวแนะนำตนเองให้เพื่อนร่วมรุ่นได้รู้จักกัน ช่วงที่ 2 ของการบรรยายในหลักสูตรนักบริหารระดับสูง “ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม” (นมธ.) รุ่นที่ 21 ได้รับเกียรติจากคุณกร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ “91 ปี ประชาธิปไตยไทยไปถึงไหน?” ท่านได้กล่าวถึงความเป็นมาของประชาธิปไตยไทย และอนาคตประชาธิปไตยของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
ในช่วงเย็นหลังการอบรมของวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 เป็นการรวมพลังของเหล่าศิษย์เก่า นมธ. รุ่นที่ 1 - 19 และเจ้าภาพ นมธ. รุ่นที่ 20 ร่วมจัดงานกับสถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์ ต้อนรับ "วันแรกพบ นมธ. รุ่นที่ 21"
ซึ่งศิษย์เก่า นมธ. รุ่นที่ 1 - 20 กล่าวต้อนรับ ทำให้ชาว นมธ. รุ่นที่ 21 ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นมากมาย เรียกได้ว่า คลื่นพลังความอบอุ่นจาก รุ่นที่ 1 - 20 รวมถึง รุ่นที่ 21 เมื่อประสานพลังกันแล้ว ล้วนเต็มไปด้วยมิตรภาพที่มีอยู่เต็มทุกมุมห้องประชุม มูลนิธิสถาบันวิทยาการธรรมศาสตร์เพื่อสังคม ขอแสดงความยินดีแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 20 ทุกท่าน สำเร็จหลักสูตร นมธ. รุ่นที่ 20 เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 ซึ่งทุกท่านล้วนแล้วแต่เป็นครอบครัว นมธ. และถึงแม้การอบรมจะจบลง แต่มิตรภาพคำว่า "นมธ. 20" ยังคงตราตรึงตลอดไป
เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 13.00 – 15.00 น. หลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 20 ได้รับเกียรติจาก สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
ท่านบรรยายธรรมในหัวข้อ "ธรรมะกับการบริหาร" ซึ่งชาว นมธ. รุ่นที่20 ที่เป็นผู้บริหารด้วยกันทั้งหมดนั้น จะต้องมีหลักธรรมในการบริหารคน บริหารองค์กร คือ "พรหมวิหาร 4" นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีความสุขและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งจะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมทุกท่านยังได้รับความกรุณาจากสมเด็จธงชัย มอบวัตถุมงคลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการใช้ชีวิตอีกด้วย เมื่อวันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. ช่วงการบรรยายที่ 1 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" นมธ. รุ่นที่ 20 ได้รับเกียรติจาก คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ท่านบรรยายในหัวข้อ "วัฒนธรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทย" โดยท่านได้อธิบายเกี่ยวกับขับเคลื่อนของการท่องเที่ยว เพื่อก่อเกิดกับขับเคลื่อนภาคธุรกิจในการนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ช่วง 2 เวลา 16.00 – 18.00 น. หลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 20 นำเสนอรายงานวิชาการด้านสังคม ของผู้เข้าอบรม นมธ. รุ่นที่ 20 ในแต่ละกลุ่ม โดยหัวข้อรายงาน มีดังนี้
1. การลดความเหลื่อมล้ำผ่านกลไกด้านการศึกษาและการเกษตร โดย กลุ่มสีเขียว 2. ศูนย์ฝึกทักษะทางการแพทย์ธรรมศาสตร์ และแผ่นแม่บทวัดโตนด โดย กลุ่มสีเหลือง 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.พระนครศรีอยุธยา และบทบาทอุตสาหกรรมปุ๋ย กับการเกษตรของประเทศไทย โดย กลุ่มสีแดง 4. การทำประโยชน์เพื่อสังคม และวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนของสถานีตำรวจร่มเกล้า และตลาดยอดพิมาน ณ ปากคลองตลาด โดย กลุ่มสีฟ้า เมื่อวันอังคารที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น. ช่วงแรกของการบรรยายที่ 1 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 20 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านได้บรรยายในหัวข้อ "อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีความสำคัญกับธรรมศาสตร์อย่างไร" อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ เรียกว่าเป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้พัฒนามหาวิทยาลัยทั้งในด้านวิชาการ ด้านการบริหาร และการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนการหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยประโยชน์ทางการศึกษาไว้มากมาย สำหรับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เป็นบุคคลสำคัญเช่นกันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชาวธรรมศาสตร์จะเรียกท่านว่า “อาจารย์หม่อม” เป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อโขนธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ก่อตั้ง และผู้อุปถัมภ์ โดยชาวธรรมศาสตร์กล่าวว่า “ถ้าไม่มีอาจารย์คึกฤทธิ์ ก็คงไม่มีโขนธรรมศาสตร์เกิดขึ้น ช่วงการบรรยายที่ 2 ของหลักสูตรนักบริหารระดับสูง "ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม" (นมธ.) รุ่นที่ 20 เป็นการรายงานวิชาการด้านเศรษฐกิจของผู้เข้าอบรม นมธ. รุ่นที่ 20 ในแต่ละกลุ่ม โดยหัวข้อรายงาน มีดังนี้
1. ภาวะผู้นำดิจิทัลในการบริหารงานในยุคปัจจุบัน โดย กลุ่มสีเขียว 2. Innovation and Global Economic Development โดย กลุ่มสีเหลือง 3. การปรับตัวของภาคธุรกิจไทย เพื่อรองรับเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดย กลุ่มสีแดง 4. Inclusive Healthcare Solution Project Using Econ - Tech Drift โดย กลุ่มสีฟ้า |
ทีมงานนมธ.
ทีมคณะทำงานมูลนิธินมธ. บรรยากาศอบรม
August 2023
ประเภท
All
|